เทศบาลตำบลโนนบุรีร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนิเวศน์วัฒนธรรมภูสิงห์
ประจำปี 2553 2557 (RDG52E0010)
การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ ด้านการจัดการแหล่งท่องเที่ยว
เทศบาลตำบลโนนบุรีร่วมขับเคลื่อนยุทธศาสตร์สู่การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวนิเวศน์วัฒนธรรมภูสิงห์ ประจำปี 2553 2557 ภายหลังสิ้นสุดของโครงการวิจัย การศึกษานิเวศวัฒนธรรมชุมชนโนนบุรีเพื่อพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศน์วัฒนธรรมแบบมีส่วนร่วมตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ ซึ่งได้รับงบประมาณสนับสนุนในการทำวิจัยจาก สกว.ฝ่ายวิจัยเพื่อท้องถิ่น เพื่อศึกษาถึงบริบททางวัฒนธรรมและระบบนิเวศของภูสิงห์ พร้อมทั้งศักยภาพและข้อจำกัดของแหล่งท่องเที่ยวภูสิงห์ เพื่อนำไปสู่การพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมโดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งรูปแบบการท่องเที่ยวดังกล่าวจะต้องนำไปสู่การฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมภูสิงห์ตำบลโนนบุรีด้วย โดยมีพระอาจารย์มหานำพล ฑิตฺตวฑฺฒโน เจ้าอาวาสวัดไตรภูมิและมีตำแหน่งเป็นเจ้าคณะตำบลภูสิงห์ ซึ่งถือเป็นพระนักพัฒนามาเป็นหัวหน้าโครงการ ร่วมกับทีมวิจัยในตำบล ประกอบไปด้วย ชาวบ้าน แกนนำ เจ้าหน้าที่ในหน่วยงานเทศบาล รวมทั้งตัวแทนชมรมการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอสหัสขันธ์ โดยใช้กระบวนการศึกษาและวิจัยแบบมีส่วนร่วม หรือ Participatory Action Research (PAR) เป็นเครื่องมือสำคัญของการดำเนินงานในโครงการ
ผลจากการวิจัย พบว่า ตำบลโนนบุรี อำเภอสหัสขันธ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ เป็นพื้นที่ที่มีศักยภาพทางการท่องเที่ยวสูง และเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญที่สุดของจังหวัดกาฬสินธุ์ ทั้งแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรม อันได้แก่ วัดภูสิงห์, วัดตาดแม่นาย, แหลมโนนวิเศษ เขื่อนลำปาว วัดป่าสักกะวัน (ภูกุ้มข้าว) อุทยานไดโนเสาร์ภูกุ้มข้าว ซึ่งเป็นจุดขุดค้นพบซากฟอสซิลไดโนเสาร์จำนวนไม่น้อยกว่า 7 ตัว ตายกองรวมกัน 130 ล้านปี และมีเค้าโครงซากฟอสซิลที่สมบูรณ์ที่สุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ซึ่งปัจจุบันได้กลายเป็นที่ตั้งของพิพิธภัณฑ์สิรินธร ซึ่งเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางวิชาการที่สำคัญของประเทศ ด้วยรูปแบบการท่องเที่ยวที่มีความหลากหลายส่งผลให้เป็นที่ดึงดูดใจของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและต่างประเทศให้เข้ามาเที่ยวชมอย่างน้อยปีละ 400, 000 คน (ข้อมูล ณ ปี พ.ศ.2551) แต่ภายหลังเมื่อถูกพัฒนาเป็นเส้นทางเศรษฐกิจตามโครงการระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก East-West Corridor โดยเฉพาะพิพิธภัณฑ์ไดโนเสาร์สิรินธรนั้นทางจังหวัดและหน่วยงานภาครัฐที่เกี่ยวข้องได้ทุ่มงบประมาณกว่า 400 ล้านบาทในการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวระดับโลก ส่งผลให้บริษัทเข้ามาบริหารจัดการการท่องเที่ยวทั้งหมด ชาวบ้านในพื้นที่แทบไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการท่องเที่ยว และไม่ได้รับประโยชน์ใดๆจากแหล่งท่องเที่ยวสำคัญนี้เลย แม้แต่การขายสินค้าในแหล่งท่องเที่ยวก็มีการเปิดประมูลให้คนภายนอกเข้ามาขายแทนร้านค้าของชาวบ้านเดิม การเข้าชมพิพิธภัณฑ์คนในพื้นที่ก็ต้องเสียบัตรผ่านประตูเหมือนคนทั่วไป ในทางตรงกันข้ามชาวบ้านกลับได้รับผลกระทบจากปัญหาการรุกเข้ามาจำนวนมากของนักท่องเที่ยว
นอกจากศักยภาพด้านพื้นที่แล้ว ผลการวิจัยยังพบว่า พื้นที่ภูสิงห์ยังมีแหล่งท่องเที่ยวที่ยึดโยงกับหลักศาสนาและวัฒนธรรมของท้องถิ่นตลอดทั้งปี เช่น วันสงกรานต์ แห่เทียน เข้าพรรษา ตักบาตรเทโวโรหะณะ บุญบั้งไฟ ลอยกระทง รวมทั้งสำนักสงฆ์พุทธาวาสเขาภูสิงห์ ได้แก่ พระพรหมภูมิปาโล รอยพระพุทธบาทจำลอง สวดสาธยายพระไตรปิฏก รวมทั้งการปฏิบัติธรรมในวันสำคัญของศาสนาและของชาติ เป็นต้น ส่งผลให้เกิดการพัฒนารูปแบบการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมขึ้น โดยการมีส่วนร่วมของชุมชน ซึ่งทีมวิจัยได้ร่วมกันทดลองจัดการเที่ยวภูสิงห์โดยได้เปิดให้นักท่องเที่ยวมาเที่ยวจริง จำนวน 8 คณะ รวมจำนวนนักท่องเที่ยวทั้งสิ้น 1,200 คน และพัฒนามาเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวจำนวน 12 ฐาน ที่กระจายทั่วเขาภูสิงห์ ที่เน้นสขันธ์จำนวน 1ณฑ์สิรินธร แิงห์ 6 วัด ในชุมชนโนนบุรี 8 วัดการฟื้นฟูและอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและวัฒนธรรมภูสิงห์ตำบลโนนบุรี ได้แก่ 1) ฐานพระพรหมภูสิงห์ 2) ฐานถ้ำพระศักดิ์สิทธิ์ 3) ฐานถ้ำเกิ้งอาหารป่า 4) ฐานฟื้นฟูป่าภูสิงห์ 5) ฐานผาน้ำทิพย์ 6) ฐานถ้ำพระโมกขธรรม 7) ฐานกกไฮ 3 ราก 8) ฐานฟอสซิลหอย 130 ล้านปี 9) ฐานลานหินผาแดง 10) ฐานม่านไผ่ไฮเกี้ยงแต้ 11) ฐานสามแยกสมุนไพร 12) ฐานดงสมบูรณ์เปลสวรรค์ โดยมี กลุ่มรักษ์ภูสิงห์ เป็นผู้บริหารจัดการ การจัดกระบวนการท่องเที่ยวทั้งหมด พร้อมเป็นมัคคุเทศก์นำเที่ยวฐานต่างๆ ประกอบกับเป็นวิทยากรให้ความรู้ประจำฐานนั้นๆ ด้วย
นอกจากนั้นแล้วในพื้นที่ยังได้มีการขยายผลและการใช้ประโยชน์จากงานวิจัย ได้แก่ การประชาสัมพันธ์ทางวิทยุกระจายเสียง เพื่อสร้างการรับรู้และสร้างความตระหนักให้กับชุมชนรอบป่า รวมทั้งการดำเนินกิจกรรมที่เกี่ยวข้องกับการแก้ไขปัญหา และพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภูสิงห์อย่างเป็นรูปธรรม ได้แก่ 1) การฟื้นฟูการจัดงานเทศกาลนมัสการและสรงน้ำพระพรหมภูมิปาโลและลอยพระพุทธบาตรจำลองในช่วงเทศกาลสงกรานต์ 2) กิจกรรมปลูกป่า บวชป่าภูสิงห์ ในวันเข้าพรรษา 3) การทำบุญตักบาตรวันวิสาขบูชา และวันมาฆบูชา 4) การจัดศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาในวันอาทิตย์บนเขาภูสิงห์ 5) จัดตั้งสถานีวิทยุกระจายเสียงเพื่อพระพุทธศาสนาและสาธารณะประโยชน์ 6) จัดรูปแบบการจัดงานตักบาตรเทโวโรหะณะ 7) จัดทำสวนสัตว์ 12 ราศี
ความยั่งยืนจากการวิจัยชิ้นนี้เกิดขึ้นจากการขับเคลื่อนของทีมวิจัยร่วมกับเทศบาลตำบลโนนบุรีก็คือการจัดทำแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภูสิงห์ ประจำปี 2553 2557 โดยบรรจุในแผนงานของชมรมการท่องเที่ยวและกีฬาอำเภอสหัสขันธ์ โดยมีทีมวิจัยในโครงการเป็นประธานและที่ปรึกษาของชมรม ซึ่งแผนยุทธศาสตร์นี้เปรียบเสมือนเครื่องมือหนึ่งในการแก้ไขปัญหาและพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวภูสิงห์ และเป็นแนวทางในการเชื่อมโยงงบประมาณและการสนับสนุนจากเทศบาล อำเภอ และจังหวัดกาฬสินธุ์ รวมทั้งหน่วยงานภายนอกที่สนใจเข้ามาร่วมในการดำเนินงานท่องเที่ยวต่อไป และสำคัญเหนือสิ่งอื่นใดก็คือผลจากการวิจัยได้ สร้างพื้นที่ยืน ให้กับชาวบ้านในพื้นที่ได้เข้ามามีส่วนร่วมในการจัดการแหล่งท่องเที่ยวของตนเองมากขึ้นด้วย
อาภาพร บุญทวี
ผู้ช่วยผู้ประสานงานศูนย์วิชาการวิจัยเพื่อพัฒนาท้องถิ่นจังหวัดมหาสารคาม |