จากประสบการณ์แม่เด็กพิการโคราช
ขยายความรู้สู่สาธารณะ (RDG51E0079)
การใช้ประโยชน์เชิงสาธารณะ ด้านคุณภาพชีวิต
เรื่องราวของผู้หญิงคนหนึ่งซึ่งมีความกดดันและความเครียดสะสมจากการดูแลลูกซึ่งมีความพิการจากความผิดปกติทางร่างกายที่รุนแรง
ไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้ตั้งแต่เกิด ซึ่งตัวเขาเองได้เลี้ยงลูกคนเดียวตามลำพัง
จนต้องได้เข้ารับคำปรึกษาจากจิตแพทย์ทั้งในเรื่องบำบัดตัวเองและแนวทางในการดูแลลูกพิการ
ปัจจุบันเขาสามารถก้าวข้ามปัญหาอุปสรรคจนสามารถเป็นครูถ่ายทอดองค์ความรู้สู่ผู้ปกครองรายที่กำลังประสบปัญหาเช่นเดียวกันอยู่
เหตุการณ์ดังกล่าวได้เกิดขึ้น กับผู้หญิง
ที่ชื่อ วนันต์ สาอุตย์
อายุ 47 ปี มีลูกสาว 2
คน คนโต
อายุ 24 ปี มีสภาพร่างกายพิการตั้งแต่แรกเกิด ที่ปัจจุบันสามารถช่วยเหลือตนเองในกิจวัตรประจำวันได้ ส่วนคนที่
2 อายุ 18 ปีกำลังศึกษาชั้นปวช.ปีที่ 3 คุณวนันต์แยกทางกับสามีตั้งแต่ตั้งท้องลูกคนที่ 2 ทำให้ต้องตกอยู่ในสภาวะ เครียด
ซึมเศร้า
จนทำให้ชีวิตช่วงหนึ่งต้องเข้าพบจิตแพทย์
และสิ่งหนึ่งที่ช่วยให้เขาได้ลุกขึ้นมาต่อสู้อีครั้งหนึ่ง คือการที่เขามีลูกอยู่ข้างหลัง ลูกคือดวงใจและดวงตา ยิ่งลูกคนโตพิการ ตนเองว่า
ต้องเป็นทั้ง พ่อและแม่ให้ลูก
คุณวนันต์ได้ตระเวนหาแหล่งรักษาลูก
จนได้พบกับเจ้าหน้ามูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการ
ได้รับคำบอกกล่าวว่า
ลูกไม่ใช่คนป่วยที่กินยาแล้วหายแต่ลูกของคุณแม่มีความบกพร่องทางร่างกายถ้าได้รับการกระตุ้นกล้ามเนื้อลูกก็จะดีขึ้น แต่คุณแม่ต้องทำต่อเนื่องและนานมาก ลูกจะสามารถช่วยเหลือตนเองได้
หลังจากได้รับคำแนะนำว่าลูกสามารถที่จะช่วยเหลือตนเองได้ ทำให้เกิดแรงบันดาลใจ จึงได้นำวิธีการดังกล่าวมาปฏิบัติกับลูก โดยแบ่งเวลาในช่วงดูทีวีก่อนนอนทุกวัน ทำกายภาพให้ลูกทุกวัน วันละ 30 นาที จนลูกสามารถ ชันคอได้ นั่งได้ หลังจากที่ทำให้ลูกตนเองดีขึ้นจึงเข้าร่วมกิจกรรมกลุ่มที่มูลนิธิเพื่อพัฒนาคนพิการนัดมาเพื่อติดตามผล ซึ่งพบเพื่อนคนอื่นที่เขาแย่กว่า จึงร่วมให้คำปรึกษา ช่วยฟื้นฟูลูกรายอื่นๆ จนได้เป็นรุ่นพี่ในกลุ่มเพราะมีประสบการณ์ในการดูแล
จนได้ตั้งเป็นศูนย์เรียนรู้ผู้ปกครองเด็กพิการในชุมชน โดยมีหลักสูตรที่นำประสบการณ์มาใช้ อยู่ 5 หลักสูตร คือ ทัศนคติในการเลี้ยงลูกพิการ การจัดอาหารสำหรับลูกพิการ การปฐมพยาบาลเบื้องต้น การจัดสิ่งแวดล้อมภายในบ้าน การใช้วัสดุอุปกรณ์ประดิษฐ์
จากภูมิปัญญาท้องถิ่นในการเสริมการฟื้นฟูสมรรถภาพของเด็กพิการ โดยมีผู้ปกครองร่วมกันทดลองจำนวน 12 คน
จากเหตุการณ์ดังกล่าวผู้ปกครองจำนวน
12 คนที่มาเรียนรู้กับ วนันต์
ต้องการที่ทราบผลว่าถ้าทำตามประสบการณ์ของ วนันต์
ทำให้ลูกดีขึ้นจริงไหม
จึงได้ใช้กระบวนการศึกษาตนเอง ผ่านงานวิจัยเพื่อท้องถิ่น
ชื่อโครงการ ศึกษารูปแบบการสร้างสุขภาพแบบองค์รวมกลุ่มผู้ปกครองเด็กพิการ กรณีศึกษา
ศูนย์การเรียนรู้ผู้ปกครองเด็กพิการในชุมชน บ้านหนองไผ่งาม ตำบลห้วยยาง
อำเภอบัวใหญ่ จังหวัดนครราชสีมา
โดย นางวนันท์ สาอุตย์
เป็นหัวหน้าโครงการ
จากการใช้งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นในการทดลองค้นพบว่า การให้ผู้ปกครองสอนผู้ปกครองสามารถทำให้ผู้ปกครองคนพิการมีทัศนคติที่ดีขึ้น
สามารถมีความพร้อมที่จะไปช่วยเหลือลูกพิการได้อย่างดี เช่น มีองค์ความรู้ที่เห็นจาก วนันต์
สามารถทำกายภาพได้
สามารทำอาหารเองได้ สามารถจัดทำกายอุปกรณ์จากภูมิปัญญาท้องถิ่นได้ หากทำไม่ได้ผู้ปกครองคนอื่นๆ
ก็มาช่วยเหลือกันได้ สามารถเช็ดตัวเวลาเป็นไข้ได้
และมีความเข้าใจว่าการใช้หลักสูตรทั้ง 5 เรื่อง
และ สิ่งที่สำคัญทำให้ผู้ปกครองทราบว่าผู้ปกครองต้องเป็นผู้ปฏิบัติหลัก ไม่ใช่หน้าที่ของเจ้าหน้าสาธารณสุข หรืออาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน และอาหารก็เป็นเรื่องสำคัญที่ทำให้สุขภาพกายของเด็กพิการ
ที่ทำให้เด็กพิการร่างกายแข็งแรง
ครอบครัวและบ้านเป็นสิ่งที่สำคัญที่สุดที่เด็กพิการต้องการที่จะใช้ชีวิตอย่างมีความสุข
ทำให้สุขภาพจิตใจของเด็กพิการดี ซึ่งสิ่งเหล่านี้สะท้อนผ่านประสบการณ์ ของวนันต์ สามารถพัฒนาเป็นแนวทางในการสร้างสุขภาพองค์ของเด็กพิการได้เป็นอย่างดี
จากประสบการณ์ดังกล่าวหลังจากโครงการวิจัยจบลงได้จัดพิมพ์เผยแพร่ประสบการคู่มือการเลี้ยงดูเด็กสมองพิการและเด็กปัญญาอ่อนฉบับชาวบ้านจำนวน 500
เล่ม และได้จัดเวทีนำเสนอประสบการณ์วิจัยในระดับจังหวัดนครราชสีมาให้กับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง กลุ่มชมรมคนพิการจำนวน 200 คน
โดยได้รับงบประมาณจากสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเขต 9 สาขาเขตพื้นที่จังหวัดนครราชสีมา จำนวน 150,000
บาท ในการจัดเวที
และได้รับเชิญในการนำเสนอผลงานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดนครราชสีมาจัดประกวดนวัตกรรมจนได้รับรางวัลชนะเลิศในการจัดให้บริการร่วมกับโรงพยาบาลบัวใหญ่
แม้โครงการวิจัยเรื่องนี้จะสิ้นสุดลงแล้วความรู้ที่ได้ยังกลายเป็นแนวทางในการเลี้ยงลูกพิการที่กลายเป็นต้นแบบให้กับผู้ปกครองรายอื่นที่ประสบปัญหาเช่นเดียวกัน ที่ขยายผลไปทั่วจังหวัดนครราชสีมา
พัชราภรณ์
ชนภัณฑารักษ์
ผู้ประสานงานศูนย์งานวิจัยเพื่อท้องถิ่นชุดพัฒนาคนพิการโคราช
|